ตัววิ่ง

ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาว ศรีสุดารัตน์ สว่างเกตุ

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

IPHONE5

คุณสมบัติใหม่ที่น่าสนใจของ iPhone 5
- ตัวเครื่องบาง 7.6 มม. (บางกว่า iPhone 4S 18% ) น้ำหนัก 112 กรัม ( เบากว่า iPhone 4S 20%)
- หน้าจอขนาดใหญ่ 4 นิ้ว  16:9  1136 x 640  326ppi แสดงผลไอคอนบนหน้าจอทั้งหมด 5 แถว และสามารถใช้งานต่างๆได้อย่างคล่องตัวด้วยมือข้างเดียว

- คุณสมบัติใหม่ Ultrafast Wireless ที่รองรับการใช้งานได้กับ  3G ได้ทั้ง HSPA, HSPA+ และ DC-HSDPA รวมถึงสามารถรองรับการใช้งาน  4G LTE  ซึ่งสามารถรองรับการดาวน์โหลดสูงสุด 100 Mbps ( LTE รองรับเฉพาะบางเครือข่ายในบางประเทศเท่านั้น )   สำหรับส่วนของ Wi-Fi   Wi-Fi, 2.4ghz  และ 5ghz สำหรับ 802.11n
- ใช้ CPU A6 ซึ่งประมวลผลความเร็วกว่าเดิมถึง 2 เท่า แสดงผลด้านกราฟฟิคได้ดียิ่งขึ้น และช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้งานแบตเตอรี่ได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม โดยสามารถใช้งานแบตเตอรี่ในการใช้งาน LTE ได้นาน 8 ชั่วโมง , คุยสาย 8 ชั่วโมง และ ดูคลิปวีดีโอ 10 ชั่วโมง
- ด้านระบบเสียง iPhone 5 ได้มีการปรับระบบเสียง โดยย้ายช่องเสียบหูฟังไปไว้ด้านล่าง , ช่องไมโครโฟนทั้งหมด 3 จุด ได้แก่ด้านหน้า ด้านหลัง และด้านล่าง เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในส่วนของเทคโนโลยีการตัดเสียงรบกวนและทำให้เสียงสนทนาชัดเจนมากยิ่งขึ้น  และ หูฟังแบบใหม่ล่าสุดซึ่งติดมากับชุดจำหน่ายที่เรียกว่า Earpod
- กล้องดิจิตอล iSight ความละเอียด 8 ล้านพิกเซล พร้อมฟังก์ชันการถ่ายภาพแบบ Panorama ที่สามารถถ่ายภาพได้มุมกว้างถึง 240 องศาและภาพ Panorama ความละเอียดสูง 28 ล้านพิกเซล  , รองรับการถ่ายวีดีโอแบบ Full HD 1080p ความละเอียดสูงสุด 30 เฟรมต่อวินาที

- กล้องด้านหน้าแบบ FaceTime HD camera  ความละเอียด 1.2 ล้านพิกเซล รองรับการถ่ายวีดีโอแบบ HD 720p ความละเอียดสูงสุด 30 เฟรมต่อวินาที และรองรับการสนทนาแบบ Facetime แบบ HD 720p โดย iPhone 5 นั้นสามารถสนทนา Facetime ผ่านทาง 3G ได้
- พอร์ทการเชื่อมต่อหรือ dock connector ได้มีการเปลี่ยนมาใช้พอร์ทแบบใหม่ที่มีชื่อว่า Lightning ซึ่งเปลี่ยนจากพอร์ทแบบเดิมที่มีขนาด 30 pins ไปเป็นแบบใหม่ที่มีขนาดเล็กลงเหลือเพียง 8 pins โดยในอนาคต Apple ได้เตรียมผลิต ผลิตภัณฑ์ต่างๆของตนให้ใช้ Lightning แบบใหม่นี้ทั้งสิ้น ส่วนใครที่ยังใช้พอร์ทแบบ 30pins อยู่นั้นสามารถหาซื้อหัวเชื่อมต่อ adapter ที่ Apple เตรียมวางจำหน่ายเพื่อให้พอร์ทแบบ 30pins สามารถใช้งานกับ Lightning ได้

- ระบบปฎิบัติการ iOS6 ซึ่งได้มีการพัฒนาคุณสมบัติในการใช้งานแอพพลิเคชั่นส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Maps , Siri , Photosteam , Passbook และอื่นๆอีกมากมาย
สำหรับราคาในการวางจำหน่ายนั้น Apple ได้เปิดเผยราคาในงานวันเปิดตัวซึ่งเป็นราคาแบบติดสัญญากับเครือข่ายผู้ให้บริการในสหรัฐอเมริกา โดยรุ่น 16GB จะอยู่ที่ $199 หรือประมาณ 6,200 บาท , รุ่น 32GB ราคา $299 หรือประมาณ 9,300 บาท และรุ่น 64GB ราคา $399 หรือประมาณ 12,400 บาท
ทั้งนี้จะเริ่มทำให้สั่งจองในวันที่ 14 กันยายนนี้ และเริ่มส่งสินค้าและวางจำหน่ายหน้าร้านในวันที่ 21 กันยายนสำหรับประเทศในกลุ่มแรกซึ่งได้แก่ สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, อังกฤษ, เยอรมัน, ฝรั่งเศส, ออสเตรเลีย, ญี่ปุ่น, ฮ่องกงและสิงคโปร์  โดยหลังจากนั้นในวันที่ 28 กันยายน Apple จะเตรียมวางจำหน่ายอีก 22 ประเทศทั่วโลกได้แก่ ออสเตรีย, เบลเยียม, สาธารณรัฐเช็ก, เดนมาร์ก, เอสโตเนีย, ฟินแลนด์, ฮังการี, ไอร์แลนด์, อิตาลี, ลิกเตนสไตน์, ลิทัวเนีย, ลักเซมเบิร์ก, เนเธอร์แลนด์, นิวซีแลนด์, นอร์เวย์, โปแลนด์, โปรตุเกส, สโลวาเกียสโลวีเนีย, สเปน, สวีเดนและสวิสเซอร์แลนด์ ส่วนประเทศอื่นๆอีกประมาณ 100 ประเทศทั่วโลกซึ่งคาดว่าจะมีรายชื่อของประเทศไทยอยู่ในนั้นด้วย จะเริ่มวางจำหน่ายในช่วงเดือนธันวาคม

วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

3G!!



3G คืออะไร
    3G หมายถึงรุ่นที่ 3 ของเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ (เซลลูลาร์) รุ่นที่ 3 นี้ ตามชื่อที่เรียกตามหลังสองรุ่นก่อนหน้านี้
เทคโนโลยี 1 จี เริ่มต้นในช่วงต้นทศวรรษ 1980 ประมาณปี พ.ศ.2523 ด้วยเครือข่ายโทรศัพท์เซลลูลาร์แอมป์ (AMPS ย่อจาก Advanced Mobile Phone) ที่รองรับเสียงแบบอะนาล๊อกบนแถบความถี่ 800 เมกกะเฮิร์ซ เหมือนกับการกระจายเสียงวิทยุทั่วไป
เทคโนโลยี 2 จี เกิดขึ้นในทศวรรษ 1990 ประมาณปี พ.ศ.2533 ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือใช้เทคโนโลยีรองรับเสียงในระบบดิจิตอล ซึ่งมีสองเทคโนโลยี 1) เทคโนโลยี ซีดีเอ็มเอ (CDMA ย่อจาก Code Division Multiple Access) ที่สามารถเรียกได้มากถึง 64 สายต่อช่องบนแถบความถี่ 800 เมกกะเฮิร์ซ มีการใช้ในสหรัฐและแบบที่ฮัท์ชใช้อยู่ในประเทศไทย 2) เทคโนโลยีจีเอสเอ็ม (GSM ย่อจาก Global System for Mobile) ซึ่งสามารถเรียกได้ 8 สายต่อช่องสัญญาณ บนแถบความถี่ 800 ถึง 1800 เมกกะเฮิร์ซ
The International Telecommunications Union (ITU) กำหนด มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่3จี คือ IMT-2000 เพื่ออำนวยการเติบโต เพิ่มแถบความกว้างความถี่ และสนับสนุนโปรแกรมประยุกต์หลากหลาย ตัวอย่าง GSM สามารถไม่เพียงเสียง แต่รวมถึงข้อมูลสวิตช์วงจรที่อัตราความเร็วสูงถึง 14.4 Kbps แต่สนับสนุนการประยกต์มัลติมีเดีย 3จีต้องส่งมอบข้อมูลสวิตช์แพคเกตด้วยประสิทธิภาพดี ที่ความเร็วสูงกว่า
อย่างไรก็ตาม ในช่วงยกระดับจาก 2 จี เป็น 3 จี ผู้ให้บริการโทรศัพท์ได้ปฏิรูปเครือข่าย พร้อมกับแผน “ปฏิวัติ” เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ใหม่ ซึ่งได้นำไปสู่ก่อตั้ง 3GPP (3rd Generation Partnership Project) และ 3GPP2 (3rd Generation Partnership Project 2)
3rd Generation Partnership Project (3GPP) ก่อตั้งในปี 1998 เพื่อพัฒนาเครือข่าย 3 จี จาก GSM เทคโนโลยีที่พัฒนาคือ
      - General Packet Radio Service (GPRS) เสนอความเร็วสูงถึง 114 กิโลบิตต่อวินาที
      - Enhanced Data Rates for Global Evolution (EDGE) เสนอความเร็วสูงถึง 384 กิโลบิตต่อวินาที
      - UMTS Wideband CDMA (WCDMA) เสนอความเร็วรับข้อมูลสูงถึง 1.92 เมกกะบิตต่อวินาที
      - High Speed Downlink Packet Access (HSDPA) เพิ่มความเร็วรับข้อมูลสูงถึง 14 เมกกะบิตต่อวินาที
      - LTE Evolved UMTS Terrestrial Radio Access (E-UTRA) มีเป้าหมายที่ 100 เมกกะบิตต่อวินาที
  GPRS มีให้ในปี 2543 ตามด้วย EDGE ในปี 2546 เทคโนโลยีนี้บางครั้งเรียกว่า 2.5 จี เพราะไม่ได้เสนออัตราข้อมูลหลายเมกะบิต (multi-megabit) EDGE ได้รับการแทนที่โดย HSDPA (และหุ้นส่วนอัพลิงค์ HSUPA) ตามรายงานของ 3GPP กล่าวว่า HSDPA มี 166 เครือข่ายใน 75 ประเทศเมื่อสิ้นปี 2550 LTE E-UTRA ซึ่งเป็นขั้นไปของ GSM จะสามารถนำมาใช้ได้ในปี 2551
องค์กรที่สอง 3rd Generation Partnership Project 2 (3GPP2) ได้รับการก่อตั้งเพื่อช่วยผู้ให้บริการโทรศัพท์อเมริกาเหนือและเอเซียในการปรับแปลง CDMA2000 ไปสู่ 3 จี เทคโนโลยีที่ 3GPP2 พัฒนาคือ
      - One Times Radio Transmission Technology (1xRTT) เสนอความเร็วสูงถึง 144 กิโลบิตต่อวินาที
      - Evolution – Data Optimized (EV-DO) เพิ่มความเร็วรับข้อมูลสูงถึง 2.4 เมกกะบิตต่อวินาที
      - EV-DO Rev. A เพิ่มความเร็วรับข้อมูลสูงถึง 3.1 เมกกะบิตต่อวินาที และลดซ่อนเร้นอยู่ภายใน
      - EV-DO Rev. B สามารถใช้ 2 ถึง 5 ช่อง แต่ละการรับข้อมูลสูงถึง 4.9 เมกกะบิตต่อวินาที
      - Ultra Mobile Broadband (UMB) ตั้งเป้าหมายให้ถึง 288 เมกกะบิตต่อวินาทีในการรับข้อมูล
1xRTT มีให้ในปี 2545 ตามด้วย EV-DO Rev. 0 เชิงพาณิชย์ในปี 2547 อีกครั้ง 1xRTT ได้รับการอ้างเป็น “2.5จี” เพราะสิ่งนี้รองรับขั้นการปรับแปลงไปสู่ EV-DO มาตรฐาน EV-DO ได้รับการขยายสองเท่า ซึ่ง Revision A ออกมาใช้ในปี 2549 และกำลังถูกแทนที่โดยผลิตภัณฑ์ที่ใช้ Revision B ที่เพิ่มอัตราข้อมูลโยการส่งผ่านหลายช่อง UMB ที่เป็นเทคโนโลยีต่อไปของ 3GPP2 อาจจะไม่แพร่หลาย เพราะโอเปอร์เรเตอร์ CDMA กำลังวางแผนปฏิรูป LTE แทน
ตามความจริง LTE และ UMB มักจะได้รับการเรียกว่า เทคโนโลยี 4จี (fourth generation) เพราะเพิ่มความเร็วดาวน์ลิงค์ตามลำดับของขนาด ป้ายนี้คือ มาก่อนกำหนดเล็กน้อยเพราะ การสร้าง “4จี” ยังไม่เป็นมาตรฐาน ITU กำลังพิจารณาคู่แข่ง สำหรับการสรุปในมาตรฐาน 4G IMT-Advanced รวมถึง LTE, UMB และ WiMAX II เป้าหมายของ 4จี รวมถึง อัตราข้อมูลอย่างน้อย 100 Mbps การส่งผ่าน OFDMA การส่งมอบแพคเกตสวิตช์ของเสียง ข้อมูล และมัลติมีเดียต่อเนื่องบนฐาน IP